โรควัวบ้า-แอนแทรกซ์ ภัยจากโปรตีนผิดรูป ทำลายระบบประสาท รุนแรงถึงตาย

โรควัวบ้าในวัว และโรคแอนแทรกซ์ ในคนไม่ได้เกิดจากไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่เกิดจาก “พรีออน” ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในร่างกายที่เกิดการพับตัวผิดรูป พรีออนผิดรูปนี้ สามารถเหนี่ยวนำให้โปรตีนปกติข้างเคียงผิดรูปตามไปด้วย เกิดการสะสมในเซลล์ประสาท และทำลายสมอง จนมีลักษณะพรุนคล้ายฟองน้ำ พรีออนทนทานต่อความร้อนและสารเคมีฆ่าเชื้อทั่วไปอย่างยิ่ง ทำให้ทำลายได้ยากมาก

การระบาดใหญ่ของโรควัวบ้าในวัว เกิดจากการที่วัวกินอาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนพรีออน ซึ่งมาจากซากวัวหรือแกะป่วย โรคนี้ไม่ติดต่อโดยตรงระหว่างวัว ส่วนโรคแอนแทรกซ์ในคน เกิดจากการกินเนื้อวัวหรือผลิตภัณฑ์จากวัว โดยเฉพาะส่วนสมองและไขสันหลังที่ปนเปื้อนเชื้อโรควัวบ้า  การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้ยากมาก เฉพาะผ่านทางการแพทย์ เช่น การรับเลือด การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ หรือเครื่องมือผ่าตัดที่ปนเปื้อน ไม่ติดต่อจากการสัมผัสทั่วไป

อาการโรคแอนแทรกซ์ในคน เริ่มจากปัญหาจิตประสาท

อาการในวัวคือพฤติกรรมเปลี่ยน ก้าวร้าว ตื่นกลัว เดินเซ ส่วนอาการโรคแอนแทรกซ์ในคน มักเริ่มด้วยปัญหาทางจิตประสาท เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือความรู้สึกผิดปกติทางผิวหนังในคนอายุน้อย ตามมาด้วยอาการทางระบบประสาท เช่น เดินเซ กล้ามเนื้อกระตุก และสมองเสื่อมในระยะหลัง โรคนี้มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตทุกรายเมื่อแสดงอาการ และยังไม่มีวิธีรักษา การป้องกันจึงสำคัญที่สุด เน้นการห้ามใช้อาหารสัตว์เสี่ยง การกำจัดชิ้นส่วนเสี่ยงสูงออกจากห่วงโซ่อาหาร การเฝ้าระวังในวัว และการคัดกรองเลือดและเนื้อเยื่อในคน

โรคสมองฟ่ามติดต่อ (Transmissible Spongiform Encephalopathies – TSEs) ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในวัว หรือโรควัวบ้า และโรคแอนแทรกซ์ ในคนเท่านั้น แต่ยังพบในสัตว์ชนิดอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “โรคผอมแห้งเรื้อรัง”  ที่กำลังเป็นปัญหาในกวางป่าและสัตว์ตระกูลกวางอื่นๆ เช่น กวางเอลก์ และกวางมูส ในสหรัฐอเมริกา

โรคผอมแห้งเรื้อรัง เกิดจากพรีออนเช่นเดียวกับโรควัวบ้าในวัว และโรคแอนแทรกซ์ โดยพรีออนผิดรูปจะเข้าทำลายสมอง ทำให้สัตว์มีอาการทางระบบประสาทที่ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ เช่น น้ำหนักลดอย่างมาก (เป็นที่มาของชื่อโรค) เซื่องซึม เดินเซ ไม่กลัวคน และมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอื่นๆ ก่อนจะเสียชีวิตในที่สุด

โรคนี้มีการแพร่กระจายในกวางอย่างมีประสิทธิภาพสูง ผ่านทางการสัมผัสโดยตรงระหว่างสัตว์ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ รวมถึงการปนเปื้อนของพรีออนในสิ่งแวดล้อม เช่น ดินและพืช ซึ่งพรีออนสามารถคงอยู่ได้นาน ทำให้เป็นแหล่งของเชื้อโรคที่ต่อเนื่องปัจจุบัน

โรคผอมแห้งเรื้อรัง ตรวจพบในกวางป่าในหลายสิบรัฐของสหรัฐอเมริกา และยังคงมีการแพร่กระจายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า สามารถติดต่อมาสู่คนได้โดยตรงจากการบริโภคเนื้อกวางที่ติดเชื้อ เหมือนกรณีของโรควัวบ้า และโรคแอนแทรกซ์ แต่หน่วยงานสาธารณสุขหลายแห่ง รวมถึงศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ยังคงเฝ้าระวังและให้คำแนะนำแก่นักล่าและประชาชนทั่วไปให้เพิ่มความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อกวางที่แสดงอาการป่วย หรือมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคผอมแห้งเรื้อรัง  และควรปฏิบัติตามแนวทางการจัดการซากสัตว์เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับพรีออน

นอกจากการเฝ้าระวังโรควัวบ้าในวัว และโรคแอนแทรกซ์ในคนแล้ว โรคผอมแห้งเรื้อรัง ในกวางป่า ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของโรคที่เกิดจากพรีออน ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจและการควบคุมการแพร่กระจายของโปรตีนผิดรูปที่เป็นอันตรายนี้ในประชากรสัตว์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของสัตว์และมนุษย์ในอนาคต

โรคแอนแทรกซ์ ภัยจากแบคทีเรียทนทานและอาวุธชีวภาพ

ขณะนี้มีรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคแอนแทรกซ์ในประเทศไทย โดยล่าสุด มีผู้ป่วยยืนยันโรคแอนแทรกซ์แล้วอย่างน้อย 3 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเชื่อมโยงกับการบริโภคเนื้อสัตว์ที่อาจปนเปื้อน นอกจากนี้ มีประชาชนอีกจำนวนหลายร้อยคน อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังและได้รับยาปฏิชีวนะแตกต่างกันไป ในกลุ่มเสี่ยงและต้องเฝ้าระวัง ทางการกำลังเร่งสอบสวนควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มเติม

แอนแทรกซ์เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบาซิลัส แอนทราซิส ที่สร้างสปอร์ทนทานในดินได้นานหลายสิบปี เชื้อนี้ผลิตสารพิษร้ายแรงทำลายเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกัน การติดต่อส่วนใหญ่มาจากสัตว์สู่คน ผ่านการสัมผัสสปอร์ทางผิวหนังที่มีแผล (พบบ่อยสุด) การหายใจเอาสปอร์เข้าไป (อันตรายสุด และเสี่ยงต่อการใช้เป็นอาวุธชีวภาพ) หรือการกินเนื้อสัตว์ป่วยปรุงไม่สุก โดยทั่วไปโรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน

อาการขึ้นกับช่องทางรับเชื้อ แบบผิวหนังเกิดแผลดำคล้ายบุหรี่จี้ แบบหายใจเริ่มคล้ายหวัดแล้วทรุดลงเร็ว หายใจล้มเหลว แบบทางเดินอาหารทำให้ปวดท้องรุนแรง ถ่ายเป็นเลือด อัตราตายแตกต่างกันมาก แบบผิวหนังถ้ารักษาเร็วโอกาสตายน้อยมาก แต่แบบหายใจและทางเดินอาหารอันตรายสูงมาก หากไม่รักษาอัตราตายสูงกว่า 50-90% แม้รักษาแล้วอัตราตายก็ยังสูงราว 45-60%

การรักษาต้องให้ยาปฏิชีวนะเร็วที่สุด อาจใช้ยาต้านสารพิษร่วมด้วย การป้องกันเน้นฉีดวัคซีนสัตว์ จัดการซากสัตว์ปลอดภัย หลีกเลี่ยงเนื้อดิบ และให้ยาป้องกันในผู้สัมผัสเชื้อ มีวัคซีนคนแต่ใช้จำกัด แอนแทรกซ์จึงเป็นภัยทั้งจากธรรมชาติและภัยคุกคามจากการก่อการร้ายทางชีวภาพ.

ข้อมูลและภาพ : ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล